dcsimg
รู้ทันโรค ASF ในสุกร (African Swine Fever)
วันที่ 5 เมษายน 2562
ASF คืออะไร,อาการของสุกร,การแพร่ระบาดในสุกร,แนวทางการป้องกัน

โรค ASF ในสุกร หรือ African Swine Fever(ASF) โรคนี้ไม่ติดต่อสู่คน
ปลอดภัยมั่นใจได้!! โรค ASF ในสุกร ไม่ติดต่อสู่คน


ปัจจุบันยังไม่พบโรคดังกล่าวในประเทศไทย เพราะมีมาตรการ เช่น การเข้มงวด กับการนำเข้าเนื้อหรือผลิตภัณฑ์หมู จากต่างประเทศ โดยเฉพาะในแถบประเทศเพื่อนบ้านเพื่อเป็นการป้องกันในเบื้องต้น


สุกรที่ติดเชื้อจะแสดงอาการ ไข้ขึ้นสูง  40.5-42°C  หนาวสั่น  ผิวหนังสีแดง มีจุดเลือด โดยเฉพาะบริเวณใบหู พื้นท้อง โคนขาด้านใน หายใจหอบ ระยะแรกมีอาการท้องผูก ระยะต่อมาจะท้องเสียถ่ายเหลว และอาจพบอาการทางประสาทร่วมด้วยเช่น เดินโซเซ ขาหลังเป็นอัมพาต ไม่กินอาหาร ไม่ยอมเคลื่อนไหว และไม่มีแรง โดยสามารถติดได้ทุกช่วงวัย และมีโอกาสตายภายใน 2 สัปดาห์


การติดต่อและแพร่กระจาย ติดต่อได้โดยตรง จากการสัมผัสเชื้อสุกรที่ป่วยโดยตรง ติดต่อโดยอ้อม จากการสัมผัสอุปกรณ์และภาชนะ รวมถึงเศษอาหาร หรือสุกรอาจถูกกัดโดยเห็บอ่อนที่รับเชื้อมาแล้ว ซึ่งพบมากในสุกรป่า 


ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันหรือการรักษาโรคเฉพาะ และหากระบาดขึ้นแล้ว โอกาสกำจัดเชื้อให้หมดไปนั้น ทำได้ค่อนข้างยาก และมักพบการระบาดซ้ำ ดังนั้นกรมปศุสัตว์จึงเข้มงวดกับการป้องกันอย่างจริงจัง


โดยออก 10 มาตรการ สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงหมู ดังนี้
1. ห้ามนำเศษอาหารจากครัวเรือนใช้เลี้ยงสุกร
2. ห้ามนำเนื้อหมูจากแหล่งอื่นเข้าไปกินในฟาร์ม
3. ห้ามให้สัตว์พาหะ เข้ามาในเขตฟาร์ม
4. ห้ามบุคคลภายนอกเข้าเยี่ยมฟาร์ม
5. ห้ามนำอุปกรณ์หรือของใช้ส่วนตัวเข้าฟาร์ม
6. ห้ามใช้รถขนส่งภายนอกเข้าเขตฟาร์ม
7. ห้ามรถลูกค้าเข้ามาซื้อสุกรที่ฟาร์ม
8. ห้ามรับสุกรทดแทนจากพื้นที่เสี่ยงเข้าฟาร์ม
9. ห้ามนำน้ำภายนอกเข้าไปใช้ในฟาร์ม
10. งดนำสุกรที่ป่วยหรือตาย ออกนอกฟาร์ม


หากพบสุกรในฟาร์มป่วยผิดปกติ หรือกรณีสงสัย ทำการแจ้งกรมปศุสัตว์ทันที
โทร 063-225-6888 หรือบนแอปพลิเคชั่น DLD 4.0


สำหรับผู้บริโภค เรายังสามารถบริโภคเนื้อหมูได้เป็นปกติ ไม่เป็นอันตรายใดๆ เพียงแต่ต้องผ่านการปรุงสุก ก็ช่วยให้ปลอดภัยจากเชื้อ ASF รวมถึง เชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือยีสต์ชนิดอื่นๆ ได้ด้วย


เพราะฉะนั้น เนื้อหมูไทยปลอดภัย บริโภคได้ 100%
และจากรายงาน ยังไม่พบพื้นที่ไหนในประเทศไทยที่ติดเชื้อ ASF


สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับโรค ASF ในสุกร
ASF ไม่ใช่โรคสัตว์ติดคนการกินเนื้อสุกร ไม่สามารถทำให้โรคมาติดคนได้
ระบบการป้องกันและควบคุมโรคทางชีวภาพ Biosecurity

แหล่งที่มา
เอกสารเผยแพร่ของสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ และ กลุ่มระบาดวิทยาทางสัตวแพทย์ สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์: 2002. OIE Technical Disease Card.

เอกสารเผยแพร่องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ
(FAO): 2009. Preparation of African swine fever contingency plans.

แหล่งอ้างอิง

รับข่าวสารเพิ่มเติม

เพื่อรับข่าวสารเกี่ยวกับรู้ทันโรค ASF ในสุกร (African Swine Fever)