“โครงการ Wastewater Biogas Capture and Utilization”
พลังงานถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตของพวกเราทุกคน พลังงานถูกนำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกสบายในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ปัจจุบันแหล่งพลังงานส่วนใหญ่เป็นแหล่งพลังงานที่ถูกใช้ไปจนเหลือน้อย เช่น ก๊าซธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์จากน้ำมันดิบ ถ่านหิน เป็นต้น นับวันปริมาณพลังงานยิ่งลดลงสวนทางกับความต้องการใช้ ที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี เป็นเหตุให้เริ่มมีการแสวงหา ศึกษาและพัฒนาแหล่งพลังงานทดแทนขึ้นมาใช้ในหลายสิบปีที่ผ่านมา โดยประเทศไทยแม้จะเป็นประเทศเกษตรกรรมที่นำเข้าพลังงานจากต่างประเทศก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้มีการพัฒนาพลังงานทดแทนสำหรับภาคเกษตรมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านปศุสัตว์ ซึ่งที่ผ่านมาถือว่าประสบความสำเร็จและสามารถนำมาใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม นั่นก็คือเทคโนโลยีการผลิต “ก๊าซชีวภาพ” หลายๆคน คงจะเคยทราบกันแล้วว่า สามารถนำ มูลสัตว์ เช่น สุกร ไก่(ไข่) วัว มาผลิตเป็นก๊าซชีวภาพได้ และในปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมเองก็ยังสามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้เช่นกัน
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ได้ริเริ่มทำโครงการที่มาจากความพยายามในการอนุรักษ์พลังงานหลากหลายโครงการด้วยกัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้การใช้พลังงานต่างๆ คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ เช่น ระบบผลิตก๊าซชีวภาพที่ซีพีเอฟได้นำมาใช้ในภาคปศุสัตว์เป็นรายแรกๆ ของประเทศ และยังได้ทำโครงการ "ผลิตก๊าซชีวภาพจากระบบบำบัดน้ำเสีย" หรือ Wastewater Biogas Capture and Utilization จากระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อหมักไร้อากาศ (Anaerobic Baffled Reactor : ABR) ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นด้วยฝีมือคนไทย มาปรับใช้กับโรงงานแปรรูปอาหาร โดยได้รับการเงินสนับสนุนส่วนหนึ่งจากสำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ภายใต้โครงการส่งเสริมเทคโนโลยี ก๊าซชีวภาพ ซึ่งโครงการนี้ไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดพลังงานทดแทน เพื่อนำมาใช้ภายในโรงงาน และยังช่วยลดมลพิษด้านกลิ่นที่อาจกระทบกับชุมชนได้ ทำให้ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 1,600 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปีและใช้แทนน้ำมันเตา 0.52 ล้านลิตร
“โครงการผลิตก๊าซชีวภาพจากระบบบำบัดน้ำเสีย จะเปลี่ยนค่าความสกปรกในน้ำเสียให้เป็นก๊าซชีวภาพ โดยใช้นวัตกรรมใหม่ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพบำบัดน้ำเสียจากการเสริมแผ่นกั้นทิศทางการไหลของน้ำทำให้เชื้อจุลินทรีย์กับน้ำเสียสัมผัสกันมากขึ้น จึงเกิดการหมักที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น” เพื่อลดมลพิษทางกลิ่นและเกิดผลพลอยได้เป็นแหล่งก่อให้เกิดพลังงานทดแทนที่นำไปใช้ประโยชน์ได้
สำหรับการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียจากน้ำเสียของโรงงานนั้น บ่อบำบัดน้ำจะถูกปิดด้านบนของบ่อด้วยผ้าใบ PVC อย่างมิดชิด ภายในบ่อออกแบบให้มีกำแพงบังคับทิศทางการไหลของน้ำ (Anaerobic Baffle Reactor, ABR) ด้วยลักษณะการไหลขึ้น-ลงภายในบ่อ ทำให้เกิดการสัมผัสระหว่างน้ำเสียกับเชื้อจุลินทรีย์อย่างเต็มที่ ส่งผลให้เกิดการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียเป็นก๊าซชีวภาพที่มีส่วนผสมของแก๊สมีเทนประมาณ 60-70% ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นก๊าซเชื้อเพลิง สามารถนำไปใช้ในรูปเชื้อเพลิงโดยตรงในหม้อไอน้ำ หรือใช้เป็นเชื้อเพลิงแก่เครื่องยนต์ต้นกำลังเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า (Bio Gas Generator) หรือผลิตเป็น ก๊าซมีเทนอัดใช้กับยานยนต์ (Compressed Bio-methane Gas, CBG) เป็นต้น ขณะเดียวกันน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วยังเป็นน้ำที่มีคุณภาพของน้ำเป็นไปตามมาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด ซึ่งโรงงานได้นำน้ำที่ผ่านการบำบัดส่วนหนึ่งกลับมาใช้ภายในโรงงานเพื่อรดต้นไม้ที่อยู่รายรอบโรงงานอีกด้วย
“ก๊าซชีวภาพนี้นับว่าเป็นเชื้อเพลิงสะอาด ที่ช่วยลดปัญหาภาวะเรือนกระจกของโลก เพื่อผลักดันให้ซีพีเอฟเป็น ครัวของโลก ที่ใส่ใจต่อการลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างแท้จริง”
จากหลักการ "อย่ามองของเสียเป็นเพียงขยะ เพราะมันมีพลังงานแฝงอยู่" ที่ซีพีเอฟยึดมั่นมาตลอด เป็นที่มาของการปรับเปลี่ยนให้กระบวนการผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน และเกิดเป็นโครงการอนุรักษ์พลังงานและพัฒนาพลังงานทดแทนอันหลากหลาย ช่วยให้การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งยังช่วยลดการปล่อยมลพิษออกสู่สิ่งแวดล้อม นับเป็นความมุ่งมั่นที่อยากจะช่วยลดปัญหาโลกร้อนได้อีกแนวทางหนึ่ง และยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับองค์กรธุรกิจอื่นๆ ในการนำเอาไปประยุกต์ใช้สร้างสรรค์และพัฒนาด้านนวัตกรรมเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติต่อไป
ด้วยการผลิตที่ดีที่ใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าที่สุด ทำให้การผลิตข้าวกล้องปลาดอร์รี่ผัดพริกทรงเครื่อง หนึ่งในผลิตภัณฑ์อาหารยั่งยืนของซีพี มีส่วนช่วยทำให้การลดโลกร้อนเป็นเรื่องง่ายและใกล้ตัวมากขึ้น เปลี่ยนจากวิธีปฏิบัติให้กลายเป็นวิถีชีวิตที่เราสามารถช่วยโลกได้ทุกวัน และเปลี่ยนให้ “ทุกคำที่มีควาหมาย” ด้วยการเปลี่ยนการกินให้ทุกคำเป็นการ “กินอย่างยั่งยืน” ที่คิดถึงและคำนึงถึงโลกมากที่สุด