dcsimg
เมนูไข่ไก่ไม่ต้องกลัวคอเลสเตอรอล
วันที่ 28 มิถุนายน 2559

ถกเถียงกันไม่จบว่า ควรรับประทานไข่ไก่จำนวนเท่าไรจึงจะเหมาะสม รับประทานมาก เกินไปแล้วคอเลสเตอรอลในไข่ไก่จะส่งผลต่อสุขภาพของผู้บริโภคหรือไม่ อย่างไร?
มาตรฐานการผลิตเนื้อไก่ปลอดภัย


หากตัดข้อข้องใจเรื่องปริมาณ การรับประทานที่เหมาะสม หรือคอเลสเตอรอลในไข่ไก่แล้ว นักโภชนาการหรือผลวิจัยส่วนใหญ่ต่าง ยอมรับว่า ไข่ไก่เป็นอาหารชนิดเดียวที่มี สารอาหารครบถ้วนเกือบทุกชนิดที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยเฉพาะโปรตีนที่มีคุณภาพดีที่สุด เพราะเป็นโปรตีนชนิดเดียวที่มีกรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ


ที่สำคัญองค์การอนามัยโลก (World Food Organization) ใช้โปรตีนไข่ (egg proteins) และกรดอะมิโน (amino acids) เป็นค่าเปรียบเทียบเพื่อประเมินคุณภาพโปรตีนจากอาหารชนิดอื่นๆ นอกจากนี้ไข่ยังเป็นแหล่งแร่ธาตุและวิตามินที่ครบถ้วน ยกเว้นเพียงวิตามินซีและเคเท่านั้น ด้วยประโยชน์จากไข่ไก่มีหลายประการ ในที่นี้อยากจะยกตัวอย่างสารอาหารสำคัญ บางประการ อาทิ โคลีนเป็นสารอาหารที่สำคัญและจำเป็นต่อแม่ที่กำลังตั้งครรภ์และอยู่ระหว่างการให้นม นอกเหนือจากที่จะช่วยบำรุงสมอง และเสริมความจำ และจากงานวิจัย หลายชิ้นยืนยันว่า โคลีนเป็นสารอาหารที่ช่วยชะลอความแก่ และมีคุณประโยชน์ต่อคนเรา ในทุกช่วงชีวิตตั้งแต่เป็นทารกจนวัยชราเลย ทีเดียว


ส่วนลูธีน (Lutein) และ ซีแซนทิน (zeaxanthin) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่พบในไข่แดง ซึ่งช่วยชะลอโรคจอประสาทตาเสื่อม และในการผลิตไข่ไก่สมัยใหม่ยังสามารถเพิ่มปริมาณแร่ธาตุเช่น โอเมก้า3 DHA EPA ให้สะสมในไข่มากขึ้น เพื่อผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากแร่ธาตุดังกล่าวได้โดยตรง ทำไมคอเลสเตอรอลจากไข่จึงไม่น่ากลัวอย่างที่คิด ที่ผ่านมาเคยมีความกังวลคอเลสเตอรอลใน ไข่ไก่ เพราะเข้าใจว่าคอเลสเตอรอลเป็นตัวการ สำคัญของการเกิดโรคหลอดเลือดและความดัน แต่งานวิจัยจากสถาบันที่เชื่อถือได้ที่ทำขึ้นในช่วงหลังๆ พบว่าในอดีตมีการวิเคราะห์ปริมาณคอเลสเตอรอลในไข่ไก่ไม่ตรงกับความจริง


และข้อมูลกองโภชนาการ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ไข่ไก่ 1 ฟองมีโปรตีนประมาณ 6.25 กรัม หรือ 10-15% ที่ร่างกายต้องการต่อวัน มีคอเลสเตอรอลประมาณ 213 กรัม มีไขมันอิ่มตัวประมาณ 1.5 กรัม เท่านั้น ในขณะที่มีไขมันไม่อิ่มตัวมากกว่าคือ 1.91 กรัม ซึ่งร่างกายจะนำไขมันไม่อิ่มตัวไปใช้ง่าย ไม่ก่อปัญหาโรคหลอดเลือด คอเลสเตอรอลที่เราจะได้รับจากไข่ไม่มาก อย่างที่คิด เนื่องจากในไข่แดงมีเลซิทินอยู่มากเลซิทินมีกลไกจับคอเลสเตอรอลและขับออก จากร่างกาย จึงมีผลให้การดูดซึมของคอเลสเตอรอลเข้าสู่กระแสเลือดไม่มากเท่าคอเลสเตอรอลจากไขมันสัตว์


จริงๆ แล้วคอเลสเตอรอลยังได้มาจากแหล่งอาหารอีกหลากหลายอย่าง ที่เราสามารถควบคุมได้อย่างถูกหลักโภชนาการ เช่น ถ้าเลือกรับประทานไข่ไก่ก็ควรหลีกเลี่ยงอาหารทะเล เช่น กุ้ง ปลาหมึกและเครื่องในสัตว์ หรือจำกัดปริมาณให้น้อยลง หรือเลือกรับประทานปลาแทน นอกจากนี้ในเรื่องของการดูดซึมและการ เผาผลาญคอเลสเตอรอลในร่างกาย จะเห็นได้ว่า ร่างกายของคนเราสามารถสร้างคอเลสเตอรอลได้เองถึง 80% ดังนั้น หากจำกัดการบริโภคน้ำตาลและไขมันทั้งจากสัตว์และพืช ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญก็จะช่วยจำกัดการสร้างคอเลสเตอรอลได้มาก


3 บริโภคไข่ตามสูตร 7 3+1 คณะกรรมการนโยบายพัฒนาไข่ไก่และผลิตภัณฑ์ แนะนำสูตรการบริโภคไข่ที่ช่วย ให้ร่างกายเราได้รับประโยชน์สูงสุดคือ เจ็ดยกกำลังสามและสามบวกหนึ่ง


- เจ็ดยกกำลังสาม หมายถึง เด็ก วัยรุ่นและวัยทำงาน บริโภคได้ 7 ฟองต่อสัปดาห์ สำหรับเด็กเล็ก ควรเริ่มให้ไข่แดงต้มสุกผสมข้าวบดในปริมาณน้อยๆ ตั้งแต่อายุ 6 เดือน และค่อยๆ เพิ่มขึ้นเป็น 1 ฟองเมื่อเด็กอายุ 7 เดือนขึ้นไป
- สามบวกหนึ่ง คือ วัยผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีบริโภคได้ 3-4 ฟองต่อสัปดาห์
- ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ควรบริโภค 1 ฟองต่อสัปดาห์หรือตามคำแนะนำของแพทย์ การบริโภคไข่อย่างชาญฉลาดก็จะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่หลากหลาย และเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ไม่ก่อให้เกิดโรคทางโภชนาการได้ สำหรับการรับประทานไข่อย่างไรให้ประโยชน์ และปลอดภัย แนะนำว่าให้กินไข่สุก เพราะร่างกายย่อยไข่ไม่สุกได้ยาก


ไข่ที่ไม่สุก จะเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของ เชื้อจุลินทรีย์ที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ และไข่ข่าวดิบจะขัดขวางการดูดซึมวิตามิน ไบโอติน ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์กระบวนการเผาผลาญพลังงาน และทำให้ร่างกายรับประโยชน์จากสารอาหารที่ทานเข้าไปได้ไม่เต็มที่


ซีพีเอฟนำระบบให้อาหารอัตโนมัติ (Automatic feeding system) ในคอกขังรวม (Raising Group) มาแก้ปัญหานี้ เพราะเป็นระบบที่ออกแบบให้แม่สุกรกินอาหารได้เท่าที่ต้องการ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการตั้งปริมาณ ซึ่งสามารถให้อาหารเป็นรายตัว แม้จะปล่อยให้เดินได้อย่างอิสระ และเกษตรกรจะสามารถติดตามข้อมูลการกินอาหารของสุกรได้จากการอ่านค่าจากชิปที่ฝังไว้ที่หูของสุกร


ที่สำคัญ เมนูอาหารไข่มีให้เลือกมากมาย หากต้องการหลีกเลี่ยงไขมัน ควรบริโภคไข่ต้มหรือไข่ตุ๋น เพราะการนำไข่มาทอดเป็นไข่ดาว หรือไข่เจียวจะมีไขมันเพิ่มขึ้นมากพอสมควร (แหล่งข้อมูล: หนังสือชื่อ The Story of Eggs จัดทำโดยคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไข่ไก่และผลิตภัณฑ์)